ผ้ากันเปื้อนในแบบอื่น ๆ ของ ผ้ากันเปื้อน

นอกจากผ้ากันเปื้อนแบบทั่วไป ยังมีผ้ากันเปื้อนในแบบอื่นด้วย เช่น

ผ้ากันเปื้อนแบบพินาฟอร์

ไฟล์:SamanthaPepPinafore girls.jpgผ้ากันเปื้อนแบบพินาฟอร์

ในภาษาอังกฤษ "Pinafore" เป็นผ้ากันเปื้อนกันเปื้อนแบบเต็มตัว โดยทั่วไปแล้วจะหมายถึงผ้ากันเปื้อนสำหรับเด็กผู้หญิงในสไตล์ยุโรป ลักษณะเด่นของผ้ากันเปื้อนแบบพินาฟอร์ จะต่างจากผ้ากันเปื้อนทั่วไปคือขอบของผ้ากันเปื้อนส่วนใหญ่จะเป็นลายลูกไม้ และมักจะใส่ทับบนชุดติดกัน(dress)

คำว่า pinafore นั้นมีที่มาจากคำว่า pin (ติด) กับคำว่า afore (ข้างหน้า) ซึ่งหมายถึงชุดที่ติดอยู่ข้างหน้า (โดยไม่มีกระดุม)ชุด pinafore มีปรากฏในวัฒนธรรมร่วมสมัยด้วย เช่น เครื่องแต่งกายของตัวละคร อลิส(Alice) จากนวนิยายเรื่อง อลิสผจญภัยในดินแดนมหัศจรรย์ (Alice’s Adventures in Wonderland)นอกจากชื่อ pinafore เมื่อนำชุดนี้ไปใส่รวมกับชุดติดกัน(dress) ก็อาจเรียกว่า “pinafore dress” หรือ “apron dress” นอกจากนี้เนื่องจากชุดดังกล่าวเป็นเครื่องแต่งกายมาตรฐานของสาวใช้ในยุควิคตอเรียด้วย ในบางครั้งจึงเกิดความสับสนเรียกเป็น “ชุดสาวใช้” (maid clothes) ด้วย

ผ้ากันเปื้อนแบบคอปเลอร์

ในภาษาอังกฤษ "Cobbler Apron" เป็นผ้ากันเปื้อนแบบคลุมรอบตัว บางแบบมีสายรัดเพื่อเพิ่มความกระชับ ผ้ากันเปื้อนชนิดนี้นิยมใส่โดยช่างฝีมือ คำว่า Cobbler นั้นแปลว่า “ช่างทำรองเท้า”

คัปโปงิ

ไฟล์:Kappougi.pngคัปโปงิ

คัปโปงิ(ญี่ปุ่น: 割烹着 โรมาจิKappōgi) เป็นชุดกันเปื้อนแบบมีแขนของญี่ปุ่น ใช้ใส่เพื่อป้องกันไม่ให้ชุดกิโมโนสกปรก ความยาวของชุดส่วนใหญ่จะยาวถึงระดับเข่า แขนคัปโปงิจะยาวมาจนถึงข้อมือเพื่อป้องกันความสกปรก โดยปลายแขนจะเป็นยางยืดเพื่อให้เกิดความกระชับในการใส่ ส่วนสายมัดของคัปโปงิโดยทั่วไปมีอยู่ 2 ตำแหน่งคือบริเวณ ล่างคอ และเอวปัจจุบันชุดคัปโปงินิยมใส่เพื่อใช้ในการทำงานบ้าน อย่างไรก็ตามอาจเนื่องจากด้วยความที่ชุดนี้เป็นชุดผ้ากันเปื้อนแบบเก่าที่มีมาตั้งแต่สมัยเมจิ มีขั้นตอนในการใส่ที่ยุ่งยาก และดูอึดอัด แม่บ้านยุคใหม่จึงนิยมใช้ผ้ากันเปื้อนทั่วไปมากกว่าคัปโปงิ

อนึ่ง คำว่า คัปโป(割烹) ในภาษาญี่ปุ่นหมายถึง “การทำอาหาร” เมื่อรวมกับคำว่า 着(คิ)[1] ที่หมายถึง "การแต่งกาย" จึงหมายความถึง "ชุดที่ใช้ใส่เพื่อการทำอาหาร" นั่นเอง

มะเอะกะเกะ

ไฟล์:Maekake.jpgมะเอะกะเกะ

มะเอะกะเกะ(ญี่ปุ่น: 前掛け โรมาจิMaekake) เป็นชุดกันเปื้อนที่ใช้ผ้าสะอาดพาดห้อยไว้บริเวณหน้าขา แล้วใช้สายรัดชุดกิโมโนที่เรียกว่า “โอบิ” รัดในอยู่กับตัว แต่เดิมในสมัยมุโรมาจิตอนปลายถือเป็นชุดทำงานของหญิงรับใช้[2]ปัจจุบันมะเอะกะเกะมีการพัฒนาเปลี่ยนไป จนมีลักษณะไม่ต่างไปจากผ้ากันเปื้อนแบบครึ่งตัวคือไม่ได้ใช้ผ้าคาดไว้กับโอบิเหมือนอดีต แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบันเมื่อพูดถึงมะเอะกะเกะนั้นจะหมายถึงผ้ากันเปื้อนแบบครึ่งตัวที่มักใส่โดยพ่อค้ามากกว่า

คำว่ามะเอะกะเกะ ในภาษาญี่ปุ่นมาจากคำว่า “มะเอะ” ที่หมายถึง “ข้างหน้า” และ “กะเกะ” ที่หมายถึง “การห้อยหรือแขวน”

นอกจากชื่อนี้แล้วผ้ากันเปื้อนแบบนี้ยังอาจเรียกได้อีกชื่อหนึ่งคือ “มะเอะดะเระ”(前垂れ) ซึ่งคำว่า “ทะเระ” ในภาษาญี่ปุ่นหมายถึง “การห้อย”